วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หัวใจชายหนุ่ม




                                         หัวใจชายหนุ่ม




ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์
       หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริ  เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม (นักเรียนนอก) ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ ประเสริฐ สุวัฒน์  โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนวนิยาย
ลักษณะการแต่ง
หัวใจชายหนุ่มเป็นร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมายโดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้งหมด 18ฉบับในเรื่อง ดังนี้
  1).หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 246- จนถึงฉบับสุดท้ายวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 246- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ.ไว้
2).คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
3).คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน…” “แต่เพื่อน…” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
4).การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไปใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ “บริบาลบรมศักดิ์”โดยตลอด แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ “ประพันธ์
5).ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย
2.แสดงให้เห็นวิธีเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
3.สื่อถึงพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต
5.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องและถูกต้องตามหลักการ
6.สื่อการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต
7.สื่อถึงประเพณีการแต่งงานกับชาวต่างชาติว่าแตกต่างกับคนไทยอย่างไร
8.สื่อถึงชายหนุ่มที่เมื่อไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเป็นเวลานานอาจแสดงพฤติกรรมของวัฒนธรรมตะวันตกแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถลืมวัฒนธรรมของถิ่นกำเนิดตัวเองได้
เรื่องย่อ
         นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกเรียนจบจากอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมผรั่ง ชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติขิงภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป

ข้อความสำคัญของจดหมาย
จดหมายฉบับที่ ๑ เรือโอยามะมะรูในทะเลแดง
-         การรักเมืองไทยเปรียบเหมือนรักพ่อแม่แต่การรักเมืองอังกฤษเหมือนรักเมีย
-         การเต้นรำเหมือนชีวิตของฉัน เพื่อนๆเคยล้อว่าถ้าฉันไม่เต้นรำนานๆถึงปวดท้อง
-         การเต้นรำมาสู้สำคัญเท่าเรื่องที่ไม่ได้กอดผูหญิงนั่นแหละ ถ้าไม่มีการเต้นรำ เราจะวิ่งไปกอดเขาดื้อๆใครเขาจะยอม
-         ในเมืองไทยยังมีคนครึอยู่มาก ที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้พบเห็นผู้ชาย
-         ฉันแทบอยากจะพาเอาลีลี่เข้าไปเสียด้วยแล้ว แต่นึกสงสารหล่อนที่จะต้องไปตกในหมู่คน “อันศิวิไลช์” จะทนทานไม่ไหว
      จดหมายฉบับที่ ๔ บ้านที่หัวลำโพง
-         ฉันต้องไหว้คนมาเสียมากต่อมากจนนับไม่ถ้วน ฉันแทบจะลงรอยท่ป็นท่าประณมอยู่ 
เสมอป็นแล้วและหลังก็เกือบจะโค้งเพราะคำนับคนไม่ได้หยุด
-         ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของคุณพ่อ คือ อยากให้ฉันเข้ารับราชการในราชสำนัก แต่ผู้ที่
ต้องการสมัยนี้มันมีมากมายจนเหลือตำแหน่ง
-         ฉันบอกว่าจะลองประกอบอาชีพค้าขายดูบ้างแต่คุณพ่อไม่ยอมให้ทำเช่นนั้น ท่านว่า
ค้าขายไม่มีหนทางที่จะเป็นใหญ่เป็นโตต่อไปได้
-         ฉันได้ไปเรียนมาจากยุโรป..จะแต่งงานแบบคลุมถุงชนไม่ได้เลย
-         กรุงเทพฯหาที่เที่ยวยากเพราะขาดเร็สตอรังศ์และโรงละครดีๆ
จดหมายฉบับที่ ๕ ถนนหัวลำโพง
-         ในที่สุดฉันเป็นอันได้เข้ารับราชการในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
-         ฉันไปดูตัวแม่กิมเน้ยแล้วหน้าตาหล่อนเหมือนนางชุนฮูหยิน ตายาว หลังตาชั้นเดียว ผิวขาวดี ใช้เสื้อผ้าดีถูกแฟชั่นแต่แต่งเครื่องเพชรมากไป
-         รายที่ฉันเล่ามาในจดหมายว่าได้เห็นที่โรงพัฒนากรนั้น ได้สืบสาวว่าหล่อนชื่ออุไร ได้ข่าวว่าหล่อนเป็นผู้หญิงสมัยใหม่แท้ ไม่หดหู่กลัวผู้ชาย
-         ถ้าได้รู้จักผู้หญิงอย่างเช่นแม่อุไรแล้วจะทำให้ฉัยค่อยวายค่อยวายคิดถึงเมืองอังกฤษได้และจะทำให้ชีวิตเป็นของน่าดำรงอีกด้วย
-         หล่อนจะพอใจในตัวฉันหรือไม่ก็ยังไม่รู้ได้ เพราะหล่อนเป็นผู้ที่มีชายตอมมานานแล้ว
จดหมายฉบับที่ ๖ ถนนหัวลำโพง
-         นึกๆก็น่าประหลาดอยู่ที่ในเมืองเรานี้พี่น้องจูบกันไม่ได้เหมือนอย่างฝรั่งเขา แต่นึกไปอีกทีก็เห็นว่าห้ามไว้ดีกว่า ของฝรั่งเขาพี่น้องแต่งงานกันไม่ได้ แต่ของเราเป็นผัวเมียกันได้เท่ากับไม่ได้เป็นญาติกัน
-         ฉันได้เห็นอย่างแน่นอนว่าหล่อน “ปอปูลาร์”ปานใด หล่อนราวกับดวงไฟที่มีตัวแมลงบินตอมว่อนอยู่ หล่อนได้ยอมให้ฉันพาเที่ยวทุกคืน เต้นรำด้วยกัน กิน “สัปเป้อร์”ด้วยกันทุกคืน คนอื่นๆพากันริษยาฉันเป็นแถว
-         หล่อนเป็นผู้หญิงที่งามที่สุดของฉันได้พบในกรุงสยาม ไม่ใช่งามแต่รูปทั้งกิริยาก็งามยวนใจ พูดก็ดีและเสียงเพราะราวกับเพลงดนตรี
-         นึกถึงชุนฮูหยินที่คุณพ่ออยากได้เป็นลูกสะใภ้นัก หล่อนแต่งตัวไปเสียเพียบเพื่อ “โช” คน พราวทั้งตัวราวกับหุ่นที่เขาติดของสำหรับขาย
จดหมายฉบับที่ ๙ หัวหิน
-         การแต่งงานของฉันหาได้เป็นไปโดยสมปรารถนาทุกประการไม่ แต่ข้อสำคัญคือว่าได้แต่งงานกันแล้ว ทำให้ค่อยโล่งใจไปมากเพราะตามที่เป็นอยู่ก็แต่ก่อนรู้สึกว่ามันไม่งดงามเลย
-         ท่านไม่อยากได้แม่อุไรมาเป็นลูกสะใภ้ โดยรังเกียจว่าได้เคยรู้จักมักคุ่นกับผู้ชายมาหลายคนแล้ว ที่บ้านนั้นใช้คำเรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้”
-         ในที่สุดฉันต้องบอกท่านว่า “ถ้าจะให้คอยอีกปีหนึ่งละก็คุณพ่อต้องได้หลานเสียนั้นแล้ว” ท่านตะลึงเป็นครู่หนึ่ง จึงกล่าวว่า “ เมื่อเจ้าได้ชิงสุกก่อนห่ามเสียเช่นนั้นแล้ว พ่อก็สิ้นพูด”
-         เมื่อแต่งงานแล้วได้ตกลงมา “ฮันนี่มูน” ที่หัวหิน แม่อุไรว่าเราเริ่มรักกันจริงจังที่หัวหิน แต่ฤดูนี้คนไม่ค่อยมากัน ออกจะเงียบๆอยู่
จดหมายฉบับที่ ๑๑ บ้านถนนสี่พระยา
-         “บ้าน!”คำนี้ที่จริงควรเป็นคำไพเราะที่สุดสำหรับมนุษย์ แต่อนิจจาฉันเป็นคนอาภัพ ไม่ได้รับความสบายกายสบายใจด้วยคำว่า “บ้าน” นี้เลย
-         ถ้าขืนอยู่ที่เพชรบุรีต่อไปอีกสองหรือสามวันก็คงต้องอายขอายหน้าเขาเป็นแน่ ชาวเพชรบุรีคงได้เห็นฉันกับเมียวิวาทกันกลางเมือง
-         แม่อุไรเมียรักของฉัน เขาดูเหมือนจะถือคติตรงกันข้าม คือเห็นว่าถ้าโกรธผัวได้ต่อหน้าเป็นเกียรติยศดี
-         เมื่อมาถึงสถานีไม่มีผู้มารับเลยจนคนเดียว ทำให้แม่อุไรโกรธและบ่นไม่รู้จบพูดจาแดกดันจนฉันขอไว้เพราะการทะเลาะต่อหน้าคนแจวเรือจ้างดูไม่เป็นการงดงามเลย
-         เสียใจที่ดิฉันเป็นลูกผู้ดี ไม่เคยต้องยกต้องขนของอะไรเอง
จดหมายฉบับที่ ๑๒ บ้านที่ถนนสี่พระยา
-         จริงอยู่การที่ฉันหย่ากับแม่อุไรได้ถูกบางคนนินทาติโทษ แต่ฉันถือคติว่าการแต่งงานเป็นกิจส่วนตัว ไม่มีผู้ใดมารับสุขรับทุกข์แทนได้
-         ฉันเห็นว่าการที่ฉันคงเป็นผัวหญิงที่ไม่ด้อยู่ในบ้านฉันและไปอยู่ที่บ้านชายอื่นนั้น เป็นการหน้าด้านพ้นวิสัยจะทำได้
-         เขาตกลงหาบ้านให้แม่อุไรที่ราชประสงค์ เขาได้เงินเดือน ๗๐๐ บาท มีบ้าน๒หลัง เมีย๘คน ม้า๔ตัว เล่นกีฬาและเลี้ยงเพื่อนฝูงบ่อยๆเก่งไหม?
-         ฉันได้ย้ายตำแหน่งมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์
-         ส่วนทางเสือป่า ฉันได้เข้าไปประจำอยู่กรมม้าหลวงแล้ว การที่เคยฝึกหัดในกองฝึกหัดนายทหารที่อ๊อกฟอร์ดนั้นเป็นผลดีแก่ฉันทีเดียว นได้เป็นผู้รั้งผู้บังคับบัญชาหมวดผู้๑ และได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่เอก
จดหมายฉบับที่ ๑๕ กรมเสือป่าม้าหลวง ร.อ.พระราชวังสนามจันทร์
-         มีการเต้นรำของกระทรวงต่างประเทศ พระยาตระเวนพาลูกสาวไปแต่ไม่ได้พาแม่อุไรไปด้วยเพราะยังไม่ได้เป็นผัวเมีย “โดยทางราชการ”
-         งานฤดูหนาวพระยาตระเวนเดินดวงอยู่กับแม่สร้อยโดยมาก ส่วนแม่อุไรคงนึกแค้นไม่น้อยเพราะเขาถือตัวว่า เป็นผู้หญิงงามลัยั่วยวนมากที่สุดในเมืองไทยและเชื่อว่าจะผูกใจอันรวนเรของพระยาตระเวนไว้ได้
-         หล่อนคงเห็นชอบตามสุภาษิตอังกฤษว่า “ขนมปังครึ่งก้อนยังดีกว่าไม่มีเลย”
-         ความจริงมีอยู่ว่าผู้ชายใดยิ่งมีชื่อเสียงเป็นนักเลงผู้หญิงมักก็ยิ่งหาเมียง่าย
-         เมื่อไรผู้หญิงไทยที่ดีๆพร้อมใจกันตั้งกติกาไม่ยอมเป็นเมียคนที่เลี้ยงผู้หญิงไว้อย่างเลี้ยงไก่เป็นฝูงๆเท่านั้นแหละ ผู้ชายพวกมักมากในกามซึ่งจะต้องกลับความคิดและเปลี่ยนความประพฤติ
จดหมายฉบับที่ ๑๗ บ้านที่ถนนสี่พระยา
-         ฉันมีความยินดีที่ฉันได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่ขึ้นแล้ว นับว่าได้ขึ้นเร็วเกินกว่าที่ฉันเองคาดหมาย
-         หล่อนแต่งตัวเรี่ยม เสื้อแพรสีชมพูบางๆนุ่งซิ่นไหมสีชมพู ประดับเครื่องเพชร พลอยพองาม แต่ผัดหน้ามากไปสักหน่อย
-         คุณหลวงจะลงโทษอย่างไรดีฉันยอมรับทุกอย่าง ขอแต่ให้มีความกรุณาต่อดิฉันผู้เป็นสัตว์ผู้ยากเท่านั้น
-         พระยาตระเวนต้องการบ้านที่ราชประสงค์สำหรับแม่สร้อยเมียรักเขาอยู่ เขาจึงขอให้แม่อุไรไปอยู่ที่อื่น บ้านก็ไม่มีจะอยู่ เงินทองก็ไม่มีใช้สอย
-         หล่อนได้ขุดอู่ตามใจตนเองแล้ว เมื่อนอนในอู่นั้นไม่สบายจะโทษใครได้ การที่หล่อนกับฉันจะกลับคืนดีกันใหม่นั้น ฉันไม่แลเห็นหนทางที่จะเป็นไปได้
          จดหมายฉบับที่ ๑๘ บ้านที่ถนนสี่พระยา
-         ฉันต้องรีบบอกข่าวดีให้ทราบ แม่อุไรตกลงแต่งงานกับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้ามั่งมี ซึ่งนับว่าโชคดีสำหรับหล่อน
-         หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป แต่หวังใจว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้างคือ
          “ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน” ถึงใจไม่ช่วงเขาก็มีเงินพอที่จะซื้อความสุขให้แม่      
             อุไรได้
-         ฉันขอบอกตรงๆว่า ฉันได้รักผู้หญิงอยู่รายหนึ่งแล้ว ซึ่งฉันหวังว่าจะได้เป็นคู่ชีวิตกันต่อไปโดยยั่งยืนจีรัง
-         หล่อนชื่อนางสาวศรีสมาน เป็นลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก ฉันกับหล่อนได้คุ้นเคยพูดจากันเป็นที่ต้องใจแล้ว เจ้าคุณพิสิฐกับคุณพ่อของฉันก็ชอบกันมาก พอพ่อประเสริฐกลับเข้ามากรุงเทพฯก็เตรียมตัวเป็นเพื่อนบ่าวทีเดียวเถิด.
ข้อคิดที่ได้รับ
1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น
2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ
3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย
4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย
5. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม


นิทานเวตาล




                                              นิทานเวตาล










ความเป็นมา

                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
                   นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่


ประวัติผู้แต่ง

            พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า “น.ม.ส.” ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า) “รัชนีแจ่มจรัส”

ลักษณะคำประพันธ์
           นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า “สำนวน น.ม.ส.”


เรื่องย่อ

                    ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
   ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร


เนื้อเรื่อง

          เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
           ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
            ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร
      ครั้นกษัตริย์ทั้งสององค์ทรงกระทำสัญญาแบ่งนางกันดังนี้แล้ว ก็ชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่า
       พระราชากับพระราชบุตรก็เชิญนางทั้งสองขึ้นบนหลังม้าองค์ละองค์ นางพระบาทเขื่องคือพระราชธิดาขึ้นทรงม้ากับท้าวจันทรเสน นางพระบาทเล็กคือพระมเหสีขึ้นทรงช้างกับพระราชบุตร สี่องค์ก็เสด็จเข้ากรุง
          กล่าวสั้นๆ ท้าวจันทรเสน แลพระราชบุตรก็ทำวิวาหะทั้งสองพระองค์ แต่กลับคู่กันไป คือพระราชบิดาวิวาหะกับพระราชบุตรี  พระราชบุตรวิวาหะกับพระมเหสี แลเพราะเหตุที่คาดขนาดเท้าผิด ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กลับเป็นเมียลูก ลูกกลับเป็นแม่เลี้ยงของผัวตัวเอง แลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของผัวแห่งลูกตน
         แลต่อมาบุตรแลธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง แลบุตรแลธิดาของนางทั้งสองก็มีบุตรแลธิดาต่อๆกันไป
         เวตาลเล่ามาเพียงครู่หนึ่ง แล้วกล่าวต่อไปว่า
      “บัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพลลูกพระมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้น จะนับญาติกันอย่างไร”
       พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องของพ่อกับลูก  แม่กับลูก แลกับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมาเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัว  แลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า
           พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งคืนโยคีนั้นจะสำเร็จก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก  ก็รีบสาวก้าวดำเนินเร็วขึ้น
           ครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่ จะรับสั่งอะไรไม่ได้ ก็ทรงกระแอม
           เวตาลทูลถามว่า
          “รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ”
          พระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งครู่หนึ่งแล้วทูลถามว่า
           “บางมีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้นๆ อีกสักเรื่องหนึ่งกระมัง”
          ครั้งนี้แม้แต่กระแอม พระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม เวตาลจึ่งกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า
         “เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้ บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรงแก้ปัญหาได้บ้างกระมัง”
           แต่พระธรรมวัชพระราชบุตรนิ่งสนิททีเดียว


คำศัพท์    

กระเหม่น
เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเบาๆ ขึ้นเอง ตามลัทธิโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดี
โกรศ
มาตราวัดความยาว เท่ากับ 500 คันธนู
เขื่อง
ค่อนข้างใหญ่ ค่อนข้างโต
คุมกัน
รวมกลุ่มกัน
เครื่องประหลาด
สิ่งที่ทำให้คนประหลาดใจในความว่า “ความสาวของพระนางเป็นเครื่องประหลาดของคนทั้งหลาย”
จำเพาะ
เพียง เฉพาะ
ซื้อน้ำใจ
ผูกใจ ในความว่า “ใช้ทองคำซื้อน้ำใจนายทหาร”หมายถึง ติดสินบนด้วยทองคำเพื่อให้ทหารเข้ากับฝ่ายของตน”
ดอกไม้ในสวน
เปรียบกับหญิงสาวที่อยู่ในรั้วในวัง
ดอกไม้ป่า
เปรียบกับหญิงสาวในชนบทหรือในหัวเมืองทั่วไป แต่มีความงามเป็นพิเศษ
ภิลล์
ชื่อชาวป่า อาศัยในแถบเขาวินธัยในอินเดีย
มูลเทวะบัณฑิต
เป็นชื่อตัวละครในนิทานสันสกฤต เล่าว่าเป็นผู้รู้ศิลปวิทยาและมักกล่าวถ้อยคำเป็นคติสอนใจ
แม่เรือน
ในที่นี้หมายถึงภริยาที่ดีมีหน้าที่ดูแลสามีและความเรียบร้อยภายในบ้าน เรียกว่า แม่ศรีเรือน
รี้พล
ทหาร
สัญญา
สัญญาณ ในข้อความที่ว่า “ก็ทำสัญญาเรียกพลโจรออกมาทั้งหมด”
สิ้นบุญ
ตาย
สู่
แบ่งให้ ในข้อความ “เพื่อจะหาอาหารเสวยและสู่พระนางทั้งสองพระองค์”
หนังสือ
วรรณคดี ในความที่ว่า “ถ้าจะพูดตามเรื่องหนังสือ”
หรอร่อย
คือ ร่อยหรอ หมายความว่า ค่อยๆ หมดไปทีละน้อย
เหล็ก
อาวุธที่ทำด้วยเหล็ก ในข้อความที่ว่า “ใช้เหล็กเป็นอาวุธที่ซื้อน้ำใจไม่ได้”


บทวิเคราะห์

ความดีเด่นด้านกลวิธีการแต่ง
1 การใช้สำนวนโวหาร
     นิทานเวตาล ฉบับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  มีการใช้สำนวนโวหารเปรียบเทียบที่ไพเราะและทำให้เห็นภาพแจ่มชัดขึ้น
2 การใช้กวีโวหาร
      พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงแปลนิทานเวตาลด้วยภาษาที่กระชับ อ่านง่าย มีบางตอนที่ทรงใช้สำนวนภาษาบาลี ซึ่งไม่คุ้นหูผู้อ่านในยุคนี้ เพราะไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน

คุณค่าด้านปัญญาและความคิด

1 ความอดทนอดกลั้น
           ความอดทนเป็นคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้นเมื่อไม่ตอบปัญหาในเรื่องที่ 10 เวตาลจึงกล่าวชมว่า ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีนัก พระปัญญาราวกับเทวดาและมนุษย์อื่นที่มีปัญญา จะหามนุษย์เสมอมิได้
2 ความเพียรพยายาม
            เวตาลมักยั่วยุให้พระวิกรมาทิตย์แสดงความคิดเห็นออกมา ทำให้พระองค์ต้องกลับไปปีนต้นอโศกเพื่อจับเวตาลใส่ย่ามกลายครั้ง
3 การใช้สติปัญญา
            การแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องใช้สติและปัญญาควบคู่กันไป จากนิทานเวตาลเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปัญญาของพระวิกรมาทิตย์อย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาและเอาชนะเวตาลได้ แต่พระองค์ต้องใช้สติประกอบกับปัญญาควบคู่กันไปจึงเอาชนะเวตาลได้
4 ความมีสติ
           ความเป็นผู้มีทิฐิมานะ ไม่ยอมในสิ่งที่ไม่พอใจ บางครั้งอาจส่งผลเสียต่อผู้นั้นเอง ดังนั้น การพยายามยับยั้งชั่งใจ  ไม่พูดมากปากไวจนเกินไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะเมื่อใด เราคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด เมื่อนั้นเราก็มีสติ สติเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นพื้นฐานของสมาธิและปัญญา ถ้าไม่มีสติ สิ่งต่างๆที่เราทำไปหรือตัดสินใจไปโดยไร้สติอาจส่งผลร้ายเกินกว่าจะประเมินได้
5 การเอาชนะข้าศึกศัตรู
            ในการทำสงครามนั้นผู้ที่มีความชำนาญ มีเล่ห์เหลี่ยมในกลศึกมากกว่าย่อมได้ชัยชนะ
6 ข้อคิดเตือนใจ
              เครื่องประดับเป็นสิ่งที่ทำให้ได้รับอันตรายจากโจรผู้ร้าย แม้จะเป็นชายที่มีฝีมือเช่นท้าวมหาพลก็ตาม เมื่อตกอยู่ในหมู่โจรเพียงคนเดียว ย่อมเสียทีได้


คุณค่าด้านความรู้

          การอ่านนิทานเวตาลทำให้ได้รู้ถึงวัฒธรรมและค่านิยมของชาวอินเดียในยุคโบราณ เช่น ค่านิยมที่ชายจะมีภรรยาได้หลายคนโดยเฉพาะชายสูงศักดิ์ เพราะถือส่าเรือนที่อบอุ่นจะต้องมีแม่เรือน

กำเนิดต้นข้าว




                           นิทานพื้นบ้าน  กำเนิดต้นข้าว






ในสมัยโบราณนานมาเมล็ดข้าวเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องปลูก และมีขนาดใหญ่มาก ใหญ่กว่ากำมือของมนุษย์ประมาณ 5 เท่า เมล็ดข้าวนั้นมีสีเงินและมีกลิ่นหอม มนุษย์ก็ได้ใช้หุงกินกันมานาน ต่อมามีหญิงหม้ายคนหนึ่ง สร้างยุ้งฉางให้ข้าวมาเกิดในยุ้งฉาง แม่หม้ายคนนั้นเป็นคนที่มีจิตใจหยาบช้า ตีข้าวเมล็ดใหญ่ด้วยไม้ เมล็ดข้าวแตกหักและปลิวไป ที่ปลิวไปตกในป่าก็กลายเป็นข้าวดอย ที่ปลิวไปตกในน้ำก็กลายเป็นข้าวนาดำมีชื่อว่านางพระโพสพ นางพระโพสพอาศัยอยู่กับปลาในหนองน้ำ นางพระโพสพโกรธมนุษย์จึงตัดสิ้นใจจะไม่กลับไปอีก มนุษย์จึงต้องอดอยากไม่มีข้าวกินไปถึงพันปี   ต่อมามีลูกชายของเศรษฐีไปเที่ยวป่าแล้วเกิดหลงทางจนมาถึงหนองน้ำก็นั่งร้องไห้ ปลากั้งเกิดความสงสารจึงขอให้นางพระโพสพบอกทางให้และกลับไปอยู่กับมนุษย์ นางพระโพสพจึงได้เล่าถึงความใจร้ายของแม่หม้าย ลูกชายเศรษฐีจึงได้อ้อนวอนให้นางพระโพสพกลับไป แต่นางก็ไม่ยอมกลับ เทวดาจึงแปลงตัวเป็นปลากับนกแก้วมาอ้อนวอนให้นางกลับไปดูแลมนุษย์และพระศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าจะไปเกิดอีก นางพระโพสพจึงยอมกลับไปเมืองมนุษย์แต่ข้าวนั้นจะเล็กลง และต้องทำการเพาะปลูก ถ้าจะตำข้าวจะต้องทำพิธีขอเพื่อที่จะขออนุญาตต่อนางพระโพสพ และเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วต้องทำพิธีสู่ขวัญข้าวด้วย

นิทานพื้นบ้าน คนแจวเรือจ้างกับนักศึกษา



                   นิทานพื้นบ้าน   คนแจวเรือจ้างกับนักศึกษา



มีนักศึกษาผู้คงแก่เรียนคนหนึ่ง   ได้ทำการว่าจ้างเรือแจวให้พาข้ามฟาก
ในขณะที่ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเมฆดูมืดครึ้ม   และลมเริ่มพัดจนน้ำเกิด
เป็นระลอกคลื่นเล็กๆ
เรือแจวได้แล่นไปอย่างช้าๆ   จนเมื่อเรือได้เข้าสู่กระแสน้ำอันเชี่ยวกราด   คนแจวเรือจึงต้องใช้ความ
อย่างระมัดระวังเป็นอย่างมาก   ส่วนฝ่ายนักศึกษานั้นกำลังนั่งก้มหน้าหนังสือเล่มใหญ่อยู่   จนในที่สุดนักศึกษาก็ได้เงยหน้าขึ้นมาจากตำราแล้วมองไปยังคนแจวเรือ
“ลุงๆเคยอ่านหนังสือประวัติศาสตร์บ้างไหม?”   นักศึกษาเอ่ยถามขึ้น
“ไม่เคยเลยครับ”   คนแจวเรือจ้างตอบด้วยนำ้เสียงที่แผ่วเบา
“ถ้างั้นลุงก็พลาดโอกาสเสียแล้วหละ   ในหนังสือประวัติศาสตร์นะลุง   เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าอ่าน
มีเรื่องของกษัตริย์และราชินีในสมัยอดีต   รวมถึงเรื่องของสงคราม  การต่อสู้   ทำให้เราสามารถรู้ว่าคนในสมัยโบราณ
ใช้ชีวิตกันแบบไหน  แต่งกายกันอย่างไร   ประวัติศาสตร์จะบอกให้ได้รู้ถึงความเจริญและความเสื่อมลงของชนชาติต่างๆ
ทำไมลุงไม่อ่านประวัติศาสตร์บ้างเล่า?”
“ผมไม่เคยเรียนหนังสือครับ”   คนแจวเรือตอบ
คนแจวเรือก็ยังคงแจวเรือต่อไป ส่วนนักศึกษาก็ก้มหน้าอ่านตำราต่อไป คงมีแต่เสียงใบแจวกระทบพื้นน้ำเท่านั้น
ผ่านไปสักครู่หนึ่ง  นักศึกษาก็เอ่ยถามคนแจวเรือขึ้นอีก   ”ภูมิศาสตร์เล่าลุง เคยอ่านบ้างไหม?”
“ไม่เคยเลยครับ”
“ภูมิศาสตร์   เป็นวิชาที่สอนให้เราได้รู้จักกับโลกและประเทศต่างๆ   และยังรวมถึงกระทั่งภูเขา แม่น้ำ ลม พายุ ฝน  นะลุง
วิชาภูมิศาสตร์เป็นวิชาที่น่าสนใจมาก   ลุงไม่รู้จักวิชานี้เลยรึ?”
“ไม่เคยเลยครับ” คนแจวเรือตอบ
นักศึกษาส่ายหน้า
“ถ้าไม่รู้จักวิชานี้ ชีวิตลุงก็เหมือนไม่มีค่าอะไรเลย”
“วิทยาศาสตร์ละลุง   เคยอ่านบ้างรึเปล่า”
“ไม่เคยอีกแหละคุณ”
“ลุงเนี่ยนะเป็นคนยังไงกันแน่?   วิทยาศาสตร์ที่ช่วยอธิบายถึงเหตุและผลต่างๆ   ลุงรู้มั้ยความก้าวหน้าของคนเราในทุกวันนี้ขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์โดยตรงเลยนะ   นักวิทยาศาสตร์เป็นคนที่สำคัญอย่างมากในโลกนี้เลยก็ว่าได้
แต่นี่อะไรลุงกลับไม่รู้เรื่องพวกนี้เอาเสียเลย   ชีวิตของลุงช่างมีค่าน้อยเสียเหลือเกิน”
นักศึกษาปิดตำราของเขา   และนั่งเงียบไม่พูดอะไรขึ้นอีก ในช่วงเวลานั้นก้อนเมฆสีดำได้แผ่ขยายและปกคลุมเต็มไปทั่วทั้งท้องฟ้า
ลมเริ่มพัดแรงขึ้น  มีฟ้าแลบแปลบปลาบ   เป็นเหตุบอกว่าพายุกำลังจะมา   และเรือก็ยังเหลือระยะทางอีกกว่าครึ่งซึ่งไกลมากกว่าจะถึงฝั่ง
คนแจวเรือแหงนขึ้นมองท้องฟ้าด้วยสีหน้าที่หวาดหวั่น   ”ดูเมฆนั่นซิคุณ พายุคงจะมาถึงเราในไม่ช้า คุณว่ายน้ำเป็นไหมครับ?”
นักศึกษาพูดขึ้นอย่างตื่นตกใจกลัว
“ว่ายน้ำ ผมว่ายไม่เป็นหรอกลุง”
บัดนี้คนแจวเรือเป็นฝ่ายเลิกคิ้วมองนักศึกษาอย่างประหลาดใจบ้างแล้ว   และพูดว่า
“อะไรกัน   นี่คุณว่ายน้ำไม่เป็นหรอกรึ   คุณมีความรอบรู้มากมายออกขนาดนี้   ประวัติศาสตร์เอย
ภูมิศาสตร์เอย   และวิชาวิทยาศาสตร์เอยคุณก็รู้   แต่ทำไมคุณถึงไม่ไปเรียนการ
ว่ายน้ำด้วยเล่า   อีกสักประเดี๋ยวเถอะ   คุณก็จะได้รู้ว่าชีวิตของคุณไม่มีค่าเลย”
ลมพายุพัดแรงขึ้นเรื่อยๆ   เรือแจวลำน้อยถูกคลื่นและลมโหมซัดพัดกระหน่ำใส่เข้ามา
ในไม่ช้าไม่นานเรือแจวก็ถูกคลื่นและพายุซัดจนเรือพลิกคว่ำคนแจวเรือจ้างสามารถ
ว่ายน้ำขึ้นฝั่งมาได้อย่างปลอดภัย    แต่ทว่านักศึกษาผู้น่าสงสาร
ได้จมหายไปในกระแสน้ำอันเชี่ยวกราดนั้นเอง



นิทานชาดก เต่าตายเพราะปาก




                             นิทานชาดก  เต่าตายเพราะปาก






ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วันเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภพระโกกาลิกะผู้เดือดร้อนเพราะปาก ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ผู้สอนธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัตผู้ครองเมืองพาราณสี โดยปกติพระราชาเป็นคนพูดมาก อำมาตย์พยายามหาอุบายกล่าวตักเตือนพระองค์อยู่เสมอ แต่ก็ยังหาไม่ได้ สมัยนั้นที่สระแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์มีเต่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ มันเป็นเพื่อนกันกับลูกหงส์ ๒ ตัว
วันหนึ่ง ลูกหงส์ได้มาเยี่ยมเต่าและได้ชวนมันไปเที่ยวที่ถ้ำทอง โดยให้เต่าคาบไม้ไว้แล้วหงส์จะคาบปลายทั้งสองข้างบินไป แต่ก่อนไปได้ตกลงกับเต่าว่า “สหาย ท่านต้องอดทนไม่พูดอะไรเลยจนกว่าจะถึงถ้ำของเรานะ มิเช่นนั้นท่านจะต้องร่วงลงพื้นดินเป็นแน่ๆ ” เต่ารับคำอย่างมั่นเหมาะพอหงส์บินผ่านเมืองพาราณสี เด็กชาวบ้านได้พากันชี้และตะโกนว่า “เฮ้ ๆ พวกเรามาดูหงส์หามเต่า เร็วเข้า” เต่าได้ฟังเช่นนั้นก็บังเกิดความโกรธจึงเอ่ยปากว่า “เจ้าเด็กร้าย เราต่างหากที่หามหงส์ไป” เมื่อเต่าอ้าปากออกมาแล้วมันจึงหลุดออกจากไม้ที่มันได้คาบเอาไว้ ทำให้มันได้ร่วงตกลงไปตายที่ท้องพระลานหลวง
ขณะนั้นอำมาตย์กำลังเข้าเฝ้าพระราชาอยู่พอดี พอมีเสียงคนว่า “มีเต่าตกจากอากาศมาตายตัวหนึ่ง”เท่านั้น อำมาตย์ทั้งหลายพร้อมด้วยพระราชาได้ไปที่นั้น พระราชาตรัสถามถึงสาเหตุที่เต่าตกลงมาตายอำมาตย์โพธิสัตว์ได้โอกาสจึงให้โอวาทพระราชาเป็นคาถาว่า
“เต่าพออ้าปากจะพูด ได้ฆ่าตนเองแล้วหนอ เมื่อคาบท่อนไม้อยู่ดีแล้ว กลับฆ่าตนเองเสียด้วยคำพูดของตนเองนั่นแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐในหมู่วีรชน บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เห็นเหตุวันนี้แล้วควรพูดให้ดี ไม่ควรพูดให้เกินเวลา ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรเต่าผู้ถึงความพินาศเพราะพูดมาก”
พระราชาทราบว่าอำมาตย์พูดถึงพระองค์ จึงตรัสถามขึ้นว่า “ที่ท่านพูดหมายถึงเราใช่ไหม ?” อำมาตย์โพธิสัตว์จึงกราบทูลว่า”มหาราชเจ้า..ไม่ว่าพระองค์หรือใครคนไหนๆ เมื่อพูดเกินประมาณย่อมถึงความพินาศกันทั้งนั้น” ตั้งแต่วันนั้นมา พระราชาได้ทรงตรัสแต่น้อยลง
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ควรพูดให้ถูกกาละเทศะและพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์เท่านั้น อย่างเป็นคนพูดมาก เข้าทำนองน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง



นิทานชาดก เรื่องกระต่ายตื่นตูม




นิทานชาดก เรื่องกระต่ายตื่นตูม




กาลครั้งหนึ่ง กระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ใต้ต้นตาล
ขณะที่นอนหลับอยู่นั้น เกิดพายุใหญ่
ทำให้ลูกตาลหล่นลงที่พื้นดิน เกือบถูกกระต่าย
กระต่ายตกใจตื่นขึ้น คิดว่าฟ้าถล่ม ไม่ทันได้ไตร่ตรอง
ลุกขึ้นได้ก็วิ่งไปอย่างสุดกำลัง เพราะกลัวความตาย
สัตว์อื่น ๆ เห็นกระต่ายวิ่งมาจนเต็มกำลังดังนั้น
จึงถามกระต่ายว่า ”นี่ท่านวิ่งหนีอะไรมา”
กระต่ายวิ่งพลางบอกพลางว่า “ฟ้าถล่ม”



สัตว์เหล่านั้นได้ฟังกระต่ายบอก ไม่ทันคิด
สำคัญว่าฟ้าถล่มจริง ก็พากันวิ่งตามกระต่ายไป
หกล้ม ขาหัก แข้งหัก โดนต้นไม้ ตกเหวตายบ้างก็มี
ส่วนที่ยังเหลือก็พากันวิ่งหนีต่อไปอีก

จนกระทั่ง มาพบพญาราชสีห์ตัวหนึ่ง เป็นสัตว์มีปัญญา
เห็นสัตว์ทั้งหลายพากันวิ่งมาไม่หยุดไม่หย่อน จึงร้องถามว่า…
“พวกท่านวิ่งหนีอะไรมา”
กระต่ายจึงเล่าเรื่องให้ราชสีห์ฟัง  ราชสีห์ก็เข้าใจทันที
จึงถามต่อไปว่า “ฟ้าถล่มที่ตรงไหน จงพาเราไปดูสักที”



พอไปถึงใต้ต้นตาลที่กระต่ายนอน
พญาราชสีห์พิเคราะห์ดู เห็นลูกตาลตกอยู่ที่โคนต้น
ก็เข้าใจว่าที่แท้เป็นลูกมะตูมตกลงบนใบตาลแห้ง…จึงเกิดเสียงดัง
จนเจ้ากระต่ายคิดว่าแผ่นดินถล่ม
สัตว์ทั้งหลายเกือยต้องเสียชีวิต
เพราะเชื่อตามเสียงผู้อื่นโดยไม่คิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน

เมื่อรู้สาเหตุแล้ว…จึงประกาศให้สัตว์ทั้งหลายทราบตามคามเป็นจริง…
ด้วยความสุขุมรอบคอบรู้จักใช้สติปัญญาไตร่ตรอง…
พญาราชสีห์จึงสามารถรักษาชีวิตสัตว์ทั้งหลายไว้ได้
และนำความสงบสุขมาสู่ป่าใหญ่อีกครั้งหนึ่ง


นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
1). “เมื่อต้องประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง…ควรมีสติ
อย่าผลีผลามด่วนตัดสินใจ…เพราะอาจเกิดผลเสียได้”

2). “อย่าตื่นตกใจโวยวายเชื่อข่าวลือจากผู้อื่น…โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน”

3). “ผู้ที่รู้จักใช้สติปัญญาคิดพิจารณาอย่างรอบคอบจะสามารถค้นพบ…สาเหตุของปัญหาได้”

จากนิทานเรื่องนี้ จึงทำให้เกิดเป็นสำนวนสุภาษิตไทยขึ้นว่า “กระต่ายตื่นตืม” ที่หมายถึง “ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่าย…โดยไม่ทันคิดพิจารณาให้ถ่องแท้รอบคอบเสียก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่…ถ้าเชื่อโดยไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้…อาจทำให้เกิดความเสียหายได้”



นิทานอีสป2




                   นิทานอีสป เรื่องสิงโตกับหมูป่า





อากาศที่ร้อนจัดของวันหนึ่งในฤดูร้อน
ทำให้สัตว์ทั้งหลายรู้สึกกระหายน้ำไปตามๆกัน
สิงโตตัวนี้ก็เช่นกัน มันกำลังเดินออกไปหาน้ำดื่ม
สิงโตเดินตรงไปยังบ่อน้ำเล็กๆ แห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลนัก
                       




เวลานั้นมีหมูป่าที่กำลังหิวน้ำตัวหนึ่งเดินตรงมาที่บ่อน้ำแห่งนี้ด้วยเช่นกัน
สิงโตและหมูป่าจึงประจันหน้ากันที่ข้างบ่อน้ำนั้น
ทั้งคู่ต่างต้องการที่จะเป็นผู้ที่ได้ดื่มน้ำก่อน จึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น
สัตว์ตัวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้ๆ ต่างพากันวิ่งหนีอย่างอลหม่าน




สิงโตและหมูป่า ต่างก็ต่อสู้กันอย่างไม่ลดละ
จนหมดเรี่ยวแรงด้วยกันทั้งคู่



ก่อนที่พวกมันจะลงมือต่อสู้กันอีกครั้ง…
ทั้งสองก็เหลือบไปเห็นนกแร้งกลุ่มหนึ่งกำลังเกาะอยู่บนกิ่งไม้
และพากันจ้องมองมายังพวกมันอยู่





สิงโตจึงหันมาพูดกับหมูป่าว่า “ข้าว่าเราเลิกต่อสู้กันเถอะ”
“เพราะไม่เช่นนั้น เราทั้งสองอาจกลายเป็นอาหารของเจ้าแร้งพวกนั้นได้”
หมูป่าเห็นด้วยจึงตอบตกลงในทันที
จากนั้นสิงโตก็บอกให้หมูป่าดื่มน้ำก่อน
และเมื่อทั้งคู่ดื่มน้ำจนพอใจแล้ว จึงเดินแยกจากกันไปด้วยดี



นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“การประนีประนอม…ช่วยให้ปลอดภัยจากอันตราย”




นิทานอีสป1




                              นิทานอีสป เรื่องลากับหมาป่า





ลาตัวหนึ่งกำลังกินหญ้าอยู่ในทุ่งหญ้าแห่งหนึ่ง
ถูกหมาป่าตัวหนึ่งคอยดักจับอยู่ ก็เลยแกล้งทำเป็นขาพิการ
เมื่อหมาป่าถามถึงเหตุความพิการของมัน
ลาก็ตอบว่ามันเพิ่งเดินไปเหยียบหนามอันแหลมคมเข้า
…และจะเป็นการฉลาดที่จะดึงหนามออกเสียก่อนทันที
ในกรณีที่ว่าหากหมาป่าจะกินมันหนามอาจจะเข้าไปติดคอก็ได้ 





หมาป่าตอบตกลงทันที…แล้วมันก็ยกขาของลาขึ้น
แต่…ในขณะที่มันกำลังตั้งใจหาหนามอยู่นั้น
ลาก็เตะหน้ามันด้วยขาหลังทั้งสองและออกวิ่งหนีไปโดยเร็ว 





หมาป่างุนงงด้วยแรงเตะพลางพูดว่า
“สมน้ำหน้าตัวข้าเอง ที่มัวแต่พยายามใช้ศิลปะในการรักษา
ในเมื่อพ่อเพียงสอนข้าให้มีความรอบรู้ ในด้านอาชีพของการฆ่าสัตว์เท่านั้น”


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ทุกคนมีความชำนาญเป็นของตน”